วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โครงงานพัฒนาสื่อวีดิทัศน์

 
รูปเล่นไฟล์ PDF 

หน้าปก

บทที่1

บทที่2

บทที่3


บทที่4

บทที่5
 4 เรื่อง การรีทัชภาพ

จากที่นักเรียนได้รับชมวีดิทัศน์สาธิตการรีทัชภาพไปแล้ว พร้อมทั้งยังได้ทำการสรุปเนื้อหาสาระของการรีทัชภาพลงสมุด ต่อมา เราจะได้ทำการรีทัชภาพกันแล้ว คุณพร้อมหรือยัง?

เครื่องมือที่ใช้ในการรีทัชภาพ ในบทเรียนนี้ที่จะแนะนำให้ใช้ได้แก่
1. clone stamp tool
Clone Stamp tool
คุณสมบัติ คือ เปรียบเสมือนตราปั้ม  
วิธีใช้ คือ  1. กด Alt ที่คีบอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกในพื้นที่ที่เราอยากจะให้ภาพที่รีทัชมีพื้นผิวแบบเดียวกัน
                 2. เมื่อกดแล้วจะสังเกตว่า เมาส์ของเราจะมีพื้นที่นั้นติดมาด้วย แล้วนำไปปั้มในส่วนที่ต้องการปกปิด เพื่อทำการรีทัชภาพ
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


2. healing brush tool
healing brush tool
คุณสมบัติ ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ Clone Stamp tool
วิธีใช้ คือ  1. กด Alt ที่คีบอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกในพื้นที่ที่เราอยากจะให้ภาพที่รีทัชมีพื้นผิวแบบเดียวกัน
                 2. เมื่อกดแล้วจะสังเกตว่า เมาส์ของเราจะมีพื้นที่นั้นติดมาด้วย แล้วนำไปปั้มในส่วนที่ต้องการปกปิด เพื่อทำการรีทัชภาพ
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


3. spot healing brush tool
spot healing brush tool
คุณสมบัติ ใช้ในการรีทัชรอยจุด เช่น รอยสิว หรือตัวอักษร เป็นกลุ่มๆ
วิธีใช้ เมื่อเลือกเครื่องมือแล้ว ก็สามารถปรับขนาดหัวแปรงและคลิก เพื่อรีทัชจุดที่ได้ต้องการได้เลย โดยเครื่องมือจะทำการคำนวณโดยใช้พื้นที่รอบข้างมาปกปิดจุดที่รีทัชเอง
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


4. patch tool
 patch tool
คุณสมบัติ ใช้ในการรีทัชกลุ่มภาพเล็ก ๆ 
วิธีใช้  1. การใช้งานจะต่างจากสามเครื่องมือข้างต้น เนื่องจากต้องวาดส่วนที่ต้องการรีทัช เอง แล้วจะปรากฏ selecttion
          2. เมื่อปรากฏ selection แล้ว ใช้เมาส์ดึงไปหาพื้นที่ที่อยากให้ส่วนที่รีทัชมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึง  
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


นอกจากเครื่องมือที่ใช้ในการรีทัช ลบ หรือซ้อนทับภาพที่ไม่ต้องการแล้ว ยังมีคำสั่งที่ีใช้ในการรีทัชภาพอีกด้วย  แต่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการดึงภาพ หรือบิดภาพ ให้มีรูปทรงตามที่เราต้องการนั่นคือคำสั่งLiquify

1. การใช้งานคำสั่ง liquify โดยไปที่ menu bar เลือกที่ filter> เลือก liquify จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

2. ทางด้านซ้ายมือจะเป็นแถบเครื่องมือในการจัดการรูปภาพ
3. ทางด้านขวามือเป็น ตัวเลือกปรับค่าหัวแปรง ขนาดของหัวแปรง เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องมือ

3 การปรับสี ของภาพนิ่ง


3 การปรับสี  ของภาพนิ่ง 

การปรับสีของภาพนิ่ง เป็นอีกความสามารถหนึ่งของ โปรแกรม Photoshop นั่นคือความสามารถในการ แก้ไข ปรับแต่งภาพ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น ภาพนั้นมีสีที่ไม่สด ก็สามารถทำให้สดสวยขึ้นมาได้ ภาพเป็นภาพขาวดำ เราก็สามารถทำให้ภาพนั้นมีสีสันได้ หรือแม้กระทั่งภาพที่มีสีสันที่สวยอยู่แล้ว แต่เราต้องการเปลี่ยนสีเป็นสีอื่น ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย

สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีประการแรกคือ ภาพนิ่ง ที่เราต้องการแก้ไข หรือต้องการจะนำมาใช้งาน ยกตัวอย่างภาพตามด้านล่างนี้




เครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งสีของรูปภาพ
เครื่องมือที่ใช้หลัก ก็คือ Brush tool นั้นเอง
วิธีการทำภาพให้เป็นสีที่เราต้องการ
1. เลือกาภพที่ต้องการทำแล้วเปิดใน Photoshop โดยการไปที่ file>open
2. ในภาพนี้เป็นดอกกุหลาบ ขาวดำ ต้องการเปลี่ยนดอกกุหลาบให้มีสีแดง โดยเลือก ที่ Brush tool แล้วไปคลิกที่ Edit in Quick mask mode
ในกล่องเครื่องมือ ด้านล่างสุด 
3. เมื่อคลิกแล้ว ให้ทำการระบายลงในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนสี นั่นคือ ตรงดอกกุหลาบนั่นเอง ระบายให้เนียนที่สุดเท่าที่จะทำได้
เมื่อระบายเสร็จแล้ว จะมีลักษณะคล้านมีแจลสีแดงเคลือบอยู่ 
4. ระบายเสร็จแล้ว ก็ให้กลับไปกดที่Edit in Quick mask mode ตัวเดิม 
5. เมื่อคลิกแล้วก็จะเกิด selection ขึ้น แล้วให้ไปที่ menu bar เลือก select > inverse เพื่อทำการเลือกพื้นที่ดอกกุหลาบ
6. เสร็จแล้วไปที่ menu bar เลือก layer> new fill layer > solid color จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาดังรูป

7. ในช่อง Mode เลือกเปลี่ยนเป็น Soft light แล้วกด OK จะปรากฎ หน้าต่างแถบสีขึ้นมา  ให้เลือกสีแสงสดมุมขวาบนสุดดอกกุหลาบของเราก็จะกลายเป็นสีแแดง ดังรูป
8. เมื่อเลือกแล้ว กด ok  จะได้ดอกกุหลาบสีแดง แต่ยังแดงไม่มาก เราต้องการแดงสดๆกว่านี้ ให้ไปที่ หน้าต่าง Panel Layer
9. ดูแถบล่างสุด ที่เป็นวงกลมสีขาวดำ คลิก แล้วเลือก  Vibrance จะปรากำหน้าต่างดังภาพ
10. ให้ดึงแถบ Saturation ไปทางขวาจะเห็นได้ว่า สแดงมีความสดขึ้น  เป็นอันเรียบร้อย
จะได้ภาพกุหลาบแดง จากภาพขาวดำ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
อีกวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนสีภาพอย่างรวดเร็วคือ การใช้คำสั่ง Hue/saturation
1. ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการ แล้วทำการวาด Selection รอบส่วนที่ต้องการจะเปลี่ยนสี
2. ไปที่ menu bar เลือก image >adjustment > Hue/saturatuion
3. ลองเลือนดูก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสี อย่างง่ายดาย นั่นเอง  เสร็จแล้วก็เอา Selection ออก โดยกด Ctrl + D 

2 การสร้างหัวแปรง(Brush)ด้วยรูปภาพ


ตอนที่ 2 การสร้างหัวแปรง(Brush)ด้วยรูปภาพ
กำหนดขนาดพื้นที่การทำงานเป็น 1000*1000 pixel 
resolution 100 pixel/centimate
พื้นหลัง Transperent


2.1 เปิดโปรแกรม Photoshop CS6 ขึ้นมา แล้วทำการ Open รูปภาพที่ต้องการทำ Brush เข้ามาในพื้นที่การทำงาน
2.2 หากเป็นภาพที่มีพื้นหลังขาวติดมาด้วย ให้ทำการตัดพื้นหลังออก ด้วยเครื่องมือ Magic ward tool
ดังที่ได้สอนไปแล้วเมื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตอนที่ 1 เมื่อลบแล้วจะได้พื้นหลังโปร่งแสง (Transparent) ตามรูปภาพที่ 2.1 นั่นเอง

2.3 เมื่อทำการลบพื้นหลังให้เป็นพื้นหลัง โปร่งแสง  (Transparent) เรียบร้อยแล้ว ให้เลือกที่เครื่องมือ Brush 
2.4 เมื่อเลือกที่เครื่องมือ Brush แล้ว  ให้ทำการ Reset ฺฺBrush โดยการ ไปที่ Tool control bar ของ เครื่องมือ Brush ดังภาพ  คลิกที่รูปฟันเฟือง จะปรากฎแถบตัวเลือกตังภาพ เลือกที่ Reset Brush กด ok 
2.5 เมื่อทำการ Reset Brush เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นการสร้าง Brush โดยไปที่ Edit แล้วเลือก Define Brush Preset ดังภาพ
2.6 จะปรากฎหน้าต่าง Preset Brust ขึ้นมาดังภาพ ทำการตั้งชื่อ Brush ของเราตามชอบ แล้วกด OK

2.7 เมื่อกด Ok แล้ว ให้เราไปเปิดดู Collection Brush ที่ Tool control bar ของเครื่องมือ Brush  
2.8 หัวแปรง หรือBrush ที่เราสร้างจะอยู่อันสุดท้าย ตามภาพ เราสามารถนำมาให้ได้เลย ตามอัธยาศัย สามารถทำ Credit คล้ายๆ กับตราปั้มส่วนตัว  


1 การใช้เครื่องมือในการตัดภาพ จับภาพ และลบภาพ

  1 การใช้เครื่องมือในการตัดภาพ จับภาพ และลบภาพ

1. กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการตัดภาพ ในโปรแกรม Adobe Photosop CD6 ได้แก่
เป็นกลุ่มเครื่องมือชุดแรกในกล่องเครื่องมือ tools box ตามภาพ มีให้เห็นทั้งหมด 6 ชิ้น แต่ยังมีเครื่องมือที่ซ่อนอยู่ ซึ่งสามารถหาได้จาก ลูกศรสามเหลี่ยมที่อยู่ทางด้านล่างซ้ายของเครื่องมือแต่ละชิ้น โดยเครื่องมือที่ซ้อนอยู่นั้น มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเครื่องมือที่เห็น แต่ลักษณะการใช้งานหรือรูปลักษณ์จะแตกต่างออกไป 
 1. 
Move tool หรือลูกศร มีคุณสมบัติเหมือนกับ mouse ใช้ในการเลือก จับวัตถุ เคลือนย้ายวัตถุ เป็นเครื่องมือหลักของโปรแกรม Photoshop CS6
2. 
Marquee tool หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกพื้นที่ของรูปภาพเพื่อทำการตัด เคลือนย้าย หรือลบ ส่วนที่เลือกนั้น ทิ้งไป มีทั้งหมด 4 เครื่องมือ ย่อย ตามรูปภาพ 
3. 
Lasso tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่ง โดยแตกต่างจาก Marquee tool ตรงที่ Marquee จะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม กับวงกลมตามที่กำหนด แต่ Lasso tool จะสามารถเลือกพื้นที่ได้อย่างอิสระ ตามที่เราจะลากเส้นไป ให้ล้อมรอบรูปภาพที่เราต้องการ พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการลากตามเส้น แบบ Free hand 
4. 












Quick Selection Tool และ Magic wand tool เป็นเครื่องมือในการเลือกพื้นที่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเลือกได้รวดเร็ว มักใช้เลือกพื้นที่ที่ไม่ต้องการแล้วลบทิ้งเสียมากกว่า  เพราะใช้ง่าย เครื่องมือจะทำการกำหนดขอบเขตของพ้นที่โดยใช้ แสงสีของภาพเป็นตัวกำหนด เช่น หากภาพนั้นเป้นภาพที่มี background สีขาว เราต้องการลบพ้นที่สีขาวทิ้ง เพียงนำเครื่องมือนี้ไปคลิกที่ พื้นที่สีขาวแล้วกด delete พื้นที่สีขาวก็จะหายไปทั้งหมด นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกเพื้นที่ได้รวดเร็วและประหยัดเวลา แต่งานของเรา จะค่อนข้างไม่ละเอียด
5.
Crop tool เป็นเครื่องมือในการกำหนดพื้นที่ ของรูปภาพที่ต้องการ เช่น 4:3 16:9 ฯลฯ เพื่อตัดส่วนที่เกินออก 
6.
eyedropper tool เป็นเครื่องมือในการจำสีของรูปภาพ พูดง่ายๆ คือ ดูดค่าสีของรูปภาพ เพื่อต้องการใช้ค่าสีนั้นในงานของเรานั่นเอง